หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน...

22
หงอประกอบการเยน ชาการเตยมความพอมอาเยน 2212 Asean กษา โดย คทกษ ฒนล โรงเยนหาดใหฐประชาสรร

Transcript of หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน...

Page 1: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

หนังสือประกอบการเรียนรู้ วิชาการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน ส2212

Asean ศึกษา

โดย ครูสุทธิลักษณ์ วัฒนกุล

โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์

Page 2: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

Asean คืออะไร1

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์

1

Page 3: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

อาเซียน ASEAN ย่อมาจาก

Association of Southeast Asian Nationsสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามของประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งในปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) หรือชื่อเต็มคือปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Decla-ration of ASEAN Concord) ที่พระราชวังสราณรมย์ โดยที่สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์

2

Page 4: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

ภายหลังจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว ได้มีประเทศใน

แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีก 5 ประเทศที่เหลือ ได้ยื่นความจำนงค์ขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งประเทศอาเซียนทั้ง 5 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในเวลาต่างๆกันดังนี้- ลำดับที่ 6 ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 - ลำดับที่ 7 ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 - ลำดับที่ 8 ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 - ลำดับที่ 9 ประเทศสหภาพพม่า ได้เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ. 2540 (พร้อมกับลาว) - ลำดับที่ 10 ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542

3

Page 5: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

ผู้แทนทั้ง 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ

ประกอบไปด้วย

1. นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย 2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรี

กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย3. นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ 4. นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ 5. พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย

4

Page 6: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

1. นายอาดัม มาลิก อินโดนีเซีย

2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน มาเลเซีย

3. นายนาซิโซ รามอส ฟิลิปปินส์

4.นายเอส ราชารัตนัม สิงคโปร์

5. พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ไทย

5

Page 7: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

จุดประสงค์หลักของอาเซียน ASEAN ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 5.ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม 7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

6

Page 8: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

รู้จักกับ อาเซียน + 3 และ อาเซียน + 6            

# #   อาเซียน + 3 และ อาเซียน + 6 : ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ขึ้นตามลำดับโดย...

+3 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

+6 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย

7

Page 9: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

กลุ่มอาเซียน +3 (ASEAN+3, ASEAN Plus 3, อาเซียนบวกสาม)จะประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศบรูไน รวมกับประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้

โดยทั้ง 13 ประเทศจะมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรของทั้งโลก และจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 16 ของ GDP รวมทั้งโลก) ในขณะที่ยอดทรัพย์สินที่เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (สูงกว่า 50% ของเงินทุนสำรองของโลก)

8

Page 10: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

สัญลักษณ์ อาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน ได้รับการออกแบบให้เป็น รูปรวงข้าวสีทองเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้นที่มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมกันอยู่เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

โดยพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาวและนำ้เงิน แสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน วางอยู่ใต้รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งมวล

ส่วนสีน้ำเงินในสัญลักษณ์อาเซียน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

9

Page 11: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

สีในสัญลักษณ์อาเซียนมีความหมายดังนี้

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

10

Page 12: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

3 เสาหลักอาเซียน 3 เสาหลักอาเซียน หมายถึง ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นภาพรวมของการรวมตัวันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยตามข้อตกลงบาหลี 2 เมื่อ พ.ศ. 2546 ได้มีข้อตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ประชาคมย่อย โดยทั้ง 3 ประชาคมย่อยนั้น เราเรียกว่า 3 เสาหลักอาเซียน ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563 แต่ต่อมามีการกำหนดให้แล้วเสร็จให้เร็วขึ้นจากเดิมอีก 5 ปี คือต้องแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558

3 เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY : APSC)2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY : AEC)3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY : ASCC)

11

Page 13: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

1 ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC)

มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ

1. การมีกฏเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก 2. ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคง สำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบครุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท 3. การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค

12

Page 14: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Political-Security Community - AEC) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and produc-tion base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่นย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสิรมการรวมกลุ่ม 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและการเสิรมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

13

Page 15: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC)

อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN-Cultural Community Blueprint) ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้านได้แก่

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม 4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน 6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา

ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

14

Page 16: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

3 เสาหลักนั้นมีเป้าหมายที่จะเริ่มต้นกันอย่างจริงจังและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 เป็นต้นไป แต่คนไทยเรามักจะจำแค่ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะเริ่มต้น วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เนื่องจากมีการตื่นตัวกันทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ในความจริงแล้ว ต้นปี 2558 คือจุดเริ่มต้นของเสาหลักอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักพร้อมๆ กัน

15

Page 17: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

เลขาธิการอาเซียนคือใคร เลขาธิการอาเซียน (Secretary General of The ASEAN) ชื่อเต็มของตำแหน่งคือ เลขาธิการใหญ่แห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน

มีหน้าที่กำกับดูแลงานของอาเซียนในภาพรวม อำนวยความสะดวก ดูแลความคืบหน้าในการดำเนินงานตามความตกลงและข้อตัดสินใจของอาเซียน จัดทำและเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับงานและข้อคิดเห็นของอาเซียน เข้าร่วมการประชุมกับประเทศคู่เจรจาตามแนวนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบ และตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและเป็นผู้แทน (rep-resentative) ของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงหน้าที่อื่นที่ได้กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียน

16

Page 18: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

หลักการคัดเลือกเลขาธิการอาเซียน เลขาธิการอาเซียนได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) จากการเสนอชื่อของประเทศที่มีสิทธิในการเสนอชื่อผู้สมัครใช้หลักการเวียนตามตัวอักษร ภาษาอังกฤษของประเทศสมาชิก เช่น ในวาระปัจจุบัน ประเทศเวียดนามมีสิทธิเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน เป็นต้น

วาระการดำเรงตำแหน่งของเลขาธิการอาเซียน

เลขาธิการอาเซียนมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยจะสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 สมัยเท่านั้น ไม่สามารถต่ออายุได้ (Non-renewable Term) ในรอบปัจจุบัน เลขาธิการอาเซียนมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ..อดีตเลขาธิการอาเซียน

17

Page 19: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ นายเล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 และจะสิ้นสุดวาระในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยนายเล เลือง มินห์ เข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนต่อจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนก่อนจากประเทศไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.255

นายเล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) จากประเทศเวียดนาม

18

Page 20: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งประมุขของรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปลายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี ผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษรยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

19

Page 21: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

21 พ.ย. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27

ณ Plenary Hall ชั้น 1 ศูนย์การค้า KLCC รวมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ

20

Page 22: หง$อประกอบการเ-ยน0 1ชา ... · - บ 6 ประเทศบไน ดาสซาลาม ไdเwาเxนสมาSกอาเยน เอGน,

นายดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในฐานะประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนได้กล่าวเปิดการประชุมในวันนี้ ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของอาเซียน จากวิสัยทัศน์ที่ห้าสมาชิกก่อตั้งได้เคยมีร่วมกัน เมื่อปี พ.ศ. 1967 วันนี้ อาเซียนจะเป็นหนึ่งเดียวที่มีความแข็งแกร่ง ภายใต้ความหลากหลายทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีทิศทางดำเนินการที่ชัดเจนในอีก 10 ปีข้างหน้า

ภายใต้ความเชื่อมโยงระหว่างกัน ขนาดประชากร พื้นที่และ GDP ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีโลกมากขึ้น ประชาคมอาเซียนจะมีความได้เปรียบจากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแลกเปลี่ยนแรงงานที่มีทักษะ เทคโนโลยีความเชี่ยวชาญและศักยภาพที่โดนเด่นของแต่ละชาติสมาชิก ซึ่งเป็นพัฒนาการและความก้าวหน้าของอาเซียนในวันนี้

หน้าที่ของเราต่อจากนี้ คือ ทุกคนต้องช่วยกันทำให้ประชาชนของอาเซียนในทุกภาคส่วนมีความรู้สึกร่วมกันถึงการเป็นหนึ่งเดียวกัน ร่วมกันใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคม

21