โดย นายณรงค์...

128
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก โดย นายณรงค์ ใจเที่ยง วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2559

Transcript of โดย นายณรงค์...

  • ปัจจัยที่มีความสัมพันธก์ับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวทิยาลัยเกริก

    โดย

    นายณรงค์ ใจเทีย่ง

    วิทยานิพนธ์นี้เปน็ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

    สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์

    มหาวิทยาลัยเกริก

    พ.ศ. 2559

  • Factors related to stress management for students, Kirk University.

    By

    Mr.NarongChaitiang

    A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the

    Requirements for the Master of Public Health

    Faculty of Liberal Arts

    Krirk University

    2016

  • มหาวิทยาลัยเกริก คณะศิลปศาสตร์

    วิทยานิพนธ์

    ของ นายณรงค์ ใจเที่ยง

    เร่ือง

    ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การจัดการความเครียด ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก

    ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

    สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

    เมื่อวันที ่ กันยายน พ.ศ. 2559

    ประธานกรรมการวิทยานิพนธ์ ................................................................... (รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช โศภีรักข์)

    กรรมการและที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ................................................................... (รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย)

    กรรมการและที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ................................................................... (รองศาสตราจารย์อลิสา นิติธรรม)

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ................................................................... (อาจารย์พันตรีหญิง ดร.ณัฐกฤตา ศิริโสภณ)

    หัวหน้าสาขาวิชา ................................................................... (รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย)

    คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ............................................................................ (รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญประภา ภัทรานุกรม)

  • 1

    บทท่ี 1

    บทน ำ

    ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ

    ในปัจจุบันนี้โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม

    วัฒนธรรม เทคโนโลยี ตลอดจนการเรียนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ นี้ก่อให้เกิด

    ผลกระทบต่อมนุษย์อย่างมากเนื่องจากมนุษย์ในปัจจุบันให้ความส าคัญกับวัตถุนอกกายมากกว่า

    วัตถุทางจิตใจท าให้เกิดการแข่งขันกันในสังคมขึ้นเพื่อความอยู่รอดจึงส่งผลท าให้เกิดภาวะ

    ความเครียดกับมนุษย์ขึ้นปัจจุบันความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับคนไทยทุกเพศ ทุกวัย

    โดยเฉพาะกับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องมีการแข่งขันกัน อันเนื่องมาจากการศึกษาในปัจจุบันท าให้

    คนแตกต่างกันในด้านฐานะหน้าที่การเงิน ความมั่นคงของชีวิตชื่อเสียงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้จึง

    ท าให้เกิดการแข่งขันกันสูงซึ่งส่งผลท าให้เกิดความเครียดสูงตามไปด้วยและความเครียดนี้สามารถ

    น าไปสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่ร้ายแรง เช่นโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการฆ่า

    ตัวตายขึ้นนอกจากนี้ความเครียดอาจน าไปสู่โรคต่างๆทางกายมากมาย เช่น โรคกระเพาะอาหาร

    โรคหัวใจ เป็นต้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ท าให้เกิดความเครียดขึ้นโดยเฉพาะกับ

    มนุษย์ทุกคนย่อมหลีกหนีความเครียดไม่พ้น บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อยและเป็นได้กับทุกเพศ

    ทุกรุ่น ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกฐานะ ตั้งแต่เกิดจนตายซึ่งท าให้ความเครียดกลายเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคน

    ต้องเผชิญทั้งนี้เนื่องจากเราต้องอยู่ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอันเนื่องมาจาการพัฒนา

    ประเทศที่มุ่งหวังจะพัฒนาทางวัตถุจนละเลยการพัฒนาจิตใจของคนในสังคม ข้อมูลจากส านักงาน

    สถิติแห่งชาติ รายงานว่าตัวเลขการว่างงานของไทยมีผู้ว่างงานอยู่ 3.62 แสนคนคิดเป็นอัตราการ

    ว่างงานร้อยละ 0.9 มีนักศึกษาจบใหม่รวม 4 แสนคน แบ่งเป็น ระดับปวช. ปวส. จ านวน 1 แสนคน

    และปริญญาตรีประมาณ 3 แสนคน ในจ านวน 4 แสนคนนี้ คาดจะมีคนตกงานประมาณ 1.5 แสน

    คนปีนี้เมื่อน าไปรวมกับตัวเลขการตกงานที่ค้างอยู่เดิมจะมีตัวเลขคนตกงานสะสมประมาณ 490,000

    คนจากสถิติผู้ว่างงานที่ส าเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (รวมระดับอนุปริญญาด้วย)มากที่สุด

    1.16 แสนคน (อัตราการว่างงานร้อยละ 1.6) เทียบกับระดับประถมศึกษา 7.4 หมื่นคน (ร้อยละ 0.8)

  • 2

    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.8 หมื่นคน (ร้อยละ 1.1) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6 หมื่นคน (ร้อย

    ละ 1.0) และแม้แต่ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ ากว่าประถมศึกษา 2.9 หมื่นคนอัตราการว่างงาน (ร้อยละ

    0.3) แรงงานบัณฑิตล้นงานหรือขาดแคลนอย่างไรจากการส ารวจความต้องการและขาดแคลน

    แรงงานในประเทศไทยโดยส านักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดปี 2556 พบว่ามีความต้องการผู้ส าเร็จ

    การศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า จ านวน 45,610 คน โดยในจ านวนนี้ยังขาดแคลน อีก 27,683

    คนขาดแคลนในที่นี้ คือหาแรงงานไม่ได้ภายใน 6 เดือน (การมีงานท าของนักศึกษา/

    บัณฑิต:http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-2-1.html)

    ความเครียดของนักศึกษาอาจเกิดจากอาจารย์เพื่อนผู้ปกครองญาติ ผลการเรียนและ

    ค่าใช้จ่ายซึ่งความเครียดจะเพิ่มขึ้นในช่วงใกล้สอบและก่อนการประกาศผลการสอบแม้จะทราบผล

    การสอบแล้วแต่ได้เกรดต่ ากว่าที่คาดหมายไว้ก็จะเกิดอาการเครียดได้ความเครียดที่เกิดขึ้นจะส่งผล

    เสียต่อร่างกายจิตใจผลการเรียนและความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างนักศึกษาบางคนต้องลาออก

    จากการเรียนกลางคันไม่สามารถเรียนต่อจนส าเร็จการศึกษาได้ท าให้เสียเวลาค่าใช้จ่ายและเสีย

    อนาคตนักศึกษาที่มีความเครียดในระดับสูงบางคนอาจคิดสั้นถึงขั้นฆ่าตัวตายความเครียดจึง

    เปรียบเสมือนเพชรฆาตที่มาอย่างเงียบๆบั่นทอนทั้งทางร่างกายจิตใจและก่อให้เกิดความสูญเสีย

    อ่ืนๆตามมาอีกมากมายนักศึกษาที่มีความเครียดจะพยายามจัดการกับความเครียดเพื่อผ่อนคลายให้

    ความเครียดทุเลาลงหรือพยายามขจัดความเครียดให้หมดสิ้นไปเพื่อให้ตนเองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    การจัดการกับความเครียดมีหลายวิธีบางวิธีเป็นวิธีที่เหมาะสมแต่บางวิธีอาจท าให้ความเครียดทุเลา

    ลงเพียงชั่วครู่แต่ส่งผลเสียในระยะยาวต่อผู้ใช้การเลือกใช้วิธีที่ไม่เหมาะสมจึงเป็นโทษมากกว่าเป็น

    ประโยชน์ (พนิดา สังฆพันธ์;2556)

    การศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นช่วงวัยที่นักศึกษาก าลังเกิดกระบวนการคิด กระบวนการ

    เรียนรู้ โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ในรูปนามธรรม นักศึกษาจึงต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับวัย

    ที่ก าลังมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อภาวะเครียดในตัวปัจเจกบุคคล ในการด าเนินชีวิตของนักศึกษา

    ต้องมีการปรับตัวหลายอย่าง เมื่อก้าวเข้าสู่ร้ัวมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การรับน้อง การปรับตัวต่อวิธีการ

    เรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม การเข้าอยู่ในสังคม

    ใหม่ที่ต้องเตรียมตัวเข้าสู่บทบาทของการเร่ิมต้นในการท างานและสร้างครอบครัวต่อไปในอนาคต

    นอกจากสภาพแวดล้อมด้านอ่ืนที่อยู่รอบตัวของนักศึกษาอันได้แก่ สภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ

  • 3

    ครอบครัว ตลอดจนกลุ่มเพื่อน รวมทั้งความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลในระดับต่างๆ ความคาดหวังใน

    ตัวเอง ครอบครัว และบุคคลรอบข้าง ล้วนเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ให้นักศึกษาเกิดความเครียด

    การด าเนินชีวิตของนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา นักศึกษาต้องเผชิญกับความเครียดที่ไม่สามารถ

    หลีกเลี่ยงได้ ซึ่งหากนักศึกษาประเมินแล้วพบว่าความเครียดที่เกิดขึ้นเกินขีดความสามารถของ

    นักศึกษา นักศึกษาจะรู้สึกคุกคาม สูญเสีย หรือท้าทายต่อความมั่นคงของบุคคล (Lazarus :1996)

    ดังนั้นเมื่อนักศึกษาประเมินสถานการณ์แล้วพบว่าสถานการณ์นั้นก่อให้เกิดความเครียด นักศึกษา

    พยายามหาวิธีการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นโดยนักศึกษาแต่ละบุคคลจะมีกลวิธีหรือวิธีการจัดการ

    กับความเครียดที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความเครียด ปัจจัยที่ท าให้เกิด

    ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกริก

    โดยศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียด ตลอดจนการบริหารจัดการความเครียดของ

    นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกริก เป็นข้อมูลพื้นฐานในการด าเนินชีวิตเป็นประโยชน์ต่อการ

    วางแผนพัฒนา กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ และใช้ในการจัดการความเครียด

    ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก น าผลการศึกษาที่พบและข้อแนะน าในการจัดการความเครียดของ

    นักศึกษาไปใช้ประโยชน์และน าผลการวิจัยไปพัฒนาปรับปรุงการด าเนินงานป้องกันไม่ให้นักศึกษา

    เกิดความเครียดในการด าเนินชีวิต

  • 4

    วัตถุประสงค์กำรวิจัย

    วัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดของนักศึกษา

    มหาวิทยาลัยเกริก

    วัตถุประสงค์เฉพำะ: เพื่อศึกษำ

    1. ปัจจัยชีวสังคมกับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก

    2. ปัจจัยภายในตัวบุคคลกับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก

    3. ปัจจัยภายนอกตัวบุคคลกับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก

    ขอบเขตของกำรวิจัย

    การศึกษาคร้ังนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการความเครียดของ

    นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกริก

    ประชำกร

    การศึกษาคร้ังนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 จากประชากรนักศึกษาชั้นปีที่ 3

    มหาวิทยาลัยเกริก ในปีการศึกษา 2559 โดยมีประชากรนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้งหมดจ านวน 586คน

    (กลุ่มงานทะเบียนนักศึกษา ส านักวิชาการ,มหาวิทยาลัยเกริก,2559 )

    กลุ่มตัวอย่ำงที่ศึกษำ

    นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคปกติ ตามคณะวิชา ของมหาวิทยาลัยเกริก ที่ได้มาจากการค านวณ

    กลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน (Taro Yamane) (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2535:110 )ได้ขนาดของ

    กลุ่มตัวอย่าง 240 คน

  • 5

    ตัวแปรที่ศึกษำประกอบด้วย

    ตัวแปรต้นคือ คือ

    1. ปัจจัยภายในตัวบุคลประกอบด้วย

    1.1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเครียด

    1.2การรับรู้เกี่ยวกับ

    1.2.1 ความเชื่อด้านอารมณ์ จิตใจ

    1.2.2 โอกาสเสี่ยงของความเครียด

    1.2.3 ความรุนแรงของความเครียด

    1.2.4 ประโยชน์ของการจัดการความเครียด

    1.2.5 อุปสรรคของการจัดการความเครียด

    2. ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล

    2.1 การเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข

    2.2 นโยบายของสถานการศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการความเครียด

    2.3 แรงสนับสนุนทางสังคม บุคคลใกล้ชิด บุคลากรทางสาธารณสุข ข้อมูลข่าวสาร

    จากแหล่งต่างๆ

    ตัวแปรตำมคือกำรจัดกำรควำมเครียดของนักศึกษำชั้นปีท่ี 3 มหำวิทยำลัยเกริก มี 3 ด้ำน

    1.การจัดการความเครียดทางการเรียน

    2.สภาพแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา

    3. ด้านส่วนตัวและสังคม

  • 6

    ตัวแปรอธิบำย คือ ปัจจัยชีวสังคมได้แก่

    1.เพศ

    2.อายุ

    3.ภูมิล าเนา

    4.คณะวิชา

    5.รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

    6.โรคประจ าตัว

    ประโยชน์ท่ีได้รับ

    1.ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการด าเนินชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกริก

    2.เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน/การปรับกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์

    และใช้ในการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก

    3.ใช้เป็นข้อแนะน าในการจัดการความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกริก

    4.น าผลการวิจัยไปพัฒนาปรับปรุงการด าเนินงานป้องกันไม่ให้นักศึกษาเกิดความเครียด

    ในการด าเนินชีวิต

    นิยำมศัพท์ท่ีเกี่ยวข้อง ปัจจัยทำงชีวสังคม หมายถึง ลักษณะพื้นฐานของนักศึกษาตามสภาพที่เป็นอยู่ขณะท าวิจัยซึ่ง

    ผู้วิจัยเลือกมาศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิล าเนา คณะวิชา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน โรคประจ าตัว

    ควำมรู้เกี่ยวกับควำมเครียด หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในตัวของบุคคล ซึ่งมาจากการรับรู้ของตัว

    บุคคลนั้นๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับความเครียด

  • 7

    กำรรับรู้เกี่ยวกับควำมเชื่อด้ำนอำรมณ์ จิตใจ หมายถึง สิ่งที่บุคคลได้รับรู้หรือสัมผัสกับเร่ือง

    นั้นๆ ซึ่งหมายถึงรับรู้ทางด้านอารมณ์และจิตใจของตนเอง

    กำรรับรู้โอกำสเสี่ยงของควำมเครียด หมายถึง ผลกระทบหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการ

    จัดการความเครียด

    ควำมรุนแรงของควำมเครียด หมายถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย เช่น โรคหัวใจขาด

    เลือด ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน

    ประโยชน์ของกำรจัดกำรควำมเครียด หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการจัดการความเครียด

    อุปสรรคของกำรจัดกำรควำมเครียด หมายถึง สิ่งที่ขัดขวาง และเป็นข้อจ ากัดในการจัดการ

    ความเครียด

    กำรเข้ำถึงสถำนบริกำรสำธำรณสุข หมายถึงจ านวนของผู้ใช้บริการด้านสาธารณสุข ของ

    นักศึกษาที่เข้าใช้บริการสาธารณสุขที่จัดบริการขึ้นในสถานศึกษา

    นโยบำยของสถำนกำรศึกษำท่ีส่งเสริมกำรจัดกำรควำมเครียด หมายถึง สิ่งที่ก าหนดไว้ใน

    สถานศึกษาถึงการส่งเสริมเร่ืองการจัดการความเครียด

    แรงสนับสนุนทำงสังคม บุคคลใกล้ชิด บุคลากรทางสาธารณสุข ข้อมูลข่าวสารจากแหล่ง

    ต่างๆ หมายถึงการได้รับความรัก ความไว้ใจ และการส่งเสริมจากบุคคลรอบข้าง ที่ให้ข้อแนะน า

    ปรึกษา และข้อมูลข่าวสารต่างๆ

    กำรจัดกำรกับควำมเครียด หมายถึง การกระท ากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เพื่อการผ่อน

    คลายความเครียดที่เกิดขึ้นจาก ความไม่สมดุล ของสภาวะทางร่างกาย และจิตใจ ที่เกิดผลกระทบ

    จากสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการ ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย

  • 8

    บทท่ี 2

    วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาคร้ังนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด ทฤษฏีและผลการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อน ามาในการก าหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดก่อนส าเร็จการศึกษา ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งมีประเด็นที่ศึกษาดังนี้ 1.บริบทของมหาวิทยาลัยเกริก

    2.ความรู้ทั่วไปของความเครียด

    -การจัดการความเครียด

    3. แนวคิดและทฤษฏีที่น ามาใช้

    - แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

    - แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ

    -แนวคิดทฤษฎี PRECEDE Model

    -แนวคิดแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ HBM

    - Coping การจัดการความเครียด

    4.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  • 9

    บริบทของมหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกริก ได้เปิดด าเนินการเป็นคร้ังแรกที่อาคาร ก ราชด าเนิน เมื่อปี พ .ศ. 2495 โดย ท่านอาจารย์ ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ (พ.ศ. 2458-2521) ซึ่งเป็นนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่านอาจารย์เกริกได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการศึกษา จากมหาวิทยาลัย David & Elkins สหรัฐอเมริกา ส าหรับจุดมุ่งหมายในการตั้งมหาวิทยาลัยฯในระยะแรกนั้น เพื่อด าเนินการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ แต่เพียงอย่างเดียวเนื่องจากท่านเป็นผู้มีความสามารถเป็นพิเศษในด้านภาษาอังกฤษ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและ ประสบการณ์จากการท างานนับได้ว่าท่านเป็นคนไทยคนแรกที่น าการสอนภาษาอังกฤษสมัยใหม่ ซึ่งมุ่งให้นักศึกษาได้มี ความรู้ในหลักภาษาและสามารถใช้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนชื่อของสถาบันฯ ตามที่ทางการ อนุญาตในขณะ นั้นคือ "โรงเรียนภาษาและวิชาชีพ" แต่คนทั้งหลายรู้จักชื่อโรงเรียนของท่ า น ใ นน า ม โ ร ง เ รี ย น อ า จ า ร ย์ เ ก ริ ก ต ล อด ม า ( ที่ ม า :เ ว็ บ ไ ซ ต์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย เ ก ริ กhttp://www.krirk.ac.th/2557/index.php/2014-01-10-06-41-22 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน 2559)

    มหาวิทยาลัยเกริกจะมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่จะออกไปประกอบอาชีพได้อย่างเต็มภาคภูมิ รวมทั้งยึดมั่นในเร่ืองคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยรวม วิสัยทัศน ์

    มหาวิทยาลัยเกริกจะพัฒนาองค์ความรู้เดิมและเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านสังคมศาสตร์และด้านการบริหารจัดการ พันธกิจ

    มหาวิทยาลัยเกริกด าเนินงานตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย มุ่งให้ความส าคัญกับการพัฒนา

    คุณภาพผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ 2. ด้านส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ 3. ด้านให้บริการวิชาการที่ทันสมัยเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของ

    ผู้รับบริการและสังคม 4. ด้านส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • 10

    อัตลักษณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก “องอาจด้วยความรู้คู่คุณธรรม ”

    อัตลักษณ์ หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน อัตลักษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก “องอาจด้วยความรู้คู่คุณธรรม ” ความหมาย บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกริกเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในวิชาที่ได้ศึกษา มีความองอาจด้วยความรู้และปัญญาน าไปสู่การใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล น าความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้แล้วนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกริกยังเป็นผู้มีความประพฤติดี ยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

    “ภูมิปัญญาเพื่อสังคม” ( Wisdom for Society )

    มหาวิทยาลัยเกริกได้ก าหนดเอกลักษณ์ คือ ภูมิปัญญาเพื่อสังคม (Wisdom for Society) ค าอธิบาย ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ที่ได้ค้นคว้ารวบรวมเป็นองค์ความรู้ และแนวคิดส าหรับแก้ปัญหาของมนุษย์ นิยาม อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกริก “ภูมิปัญญาเพื่อสังคม” หมายถึง มหาวิทยาลัยเกริกมุ่งสร้างองค์ความรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเกริก

    เป็นรูปธรรมจักรทับอยู่ด้านหน้าคบเพลิงภายในธรรมจักรมีรูปต้นไม้ กงล้อธรรมจักร ด้านบนมีอักษรภาษาบาลี วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยว่า “ความรู้ท าให้องอาจ” และภายใต้ขอบล่างของธรรมจักร มีอักษรภาษาไทยว่า มหาวิทยาลัยเกริก และภาษาอังกฤษว่าKRIRK UNIVERSITY ความหมาย

    ธรรมจักร หมายถึง กงล้อแห่งความรู้ คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญาและความรุ่งโรจน์ ต้นไม้ หมายถึง ความเติบใหญ่และความมั่นคงแข็งแรง

  • 11

    ความรู้ท่ัวไปของความเครียด นิยามความเครียด Shorter Oxford Dictionary (1993:128-135) มีผู้พยายามให้นิยามความเครียดในมุมมองต่าง ๆ ทั้งทางด้านทางแพทย์ ทางจิตวิทยา และทางสังคมวิทยา ค าว่าความเครียด หรือ Stress มาจากภาษาลาติน ในช่วงศตวรรษที่ 17 แปลว่า ความยากล าบาก (Hardship) ความทุกข์ยาก (Adversity) และความทุกข์ทรมาน (Affliction) มาถึงช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ได้เพิ่มความหมายว่า ความตึงเครียด (Strain) การถูกบีบบังคับ (Pressure) ความมุมานะ (Strong effort) เข้าไปด้วย นิยามในเชิงการแพทย์กล่าวถึงความเครียดไว้ 3 ลักษณะดังนี้ R.S. Schuler (1980) (1) ความเครียด เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบของร่างกายมนุษย์ ในการขจัด สภาวะที่ขาดสมดุลของร่างกายจากสภาพปกติ เช่น ภาวการณ์เจ็บป่วย การติดเชื้อ หรือภาวะที่ร่างกายไม่สมดุลอ่ืน ๆ (2) ความเครียดเป็น แรงขับภายในร่างกาย เพื่อต่อต้านแรงที่กระท าจากภายนอก (3) ในเชิงจิตวิทยาความเครียดเป็น ตัวกระตุ้น ทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่ท าให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อรับแรงกระตุ้นนั้นเกิดความเครียด ความเครียด เป็นสภาวะขับเคลื่อนของบุคคลใด ๆ ที่ประสบกับโอกาส ข้อจ ากัด หรือความต้องการหนึ่ง ๆ ที่ไปสัมพันธ์กับสิ่งที่ตนเองมีความปรารถนา และมองดูผลลัพธ์นั้นในเชิงไม่มั่นใจ หรือได้เล็งเห็นความส าคัญ การตอบโต้ของบุคคลทางด้านร่างกาย และอารมณ์ ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เขามองเห็นว่าสิ่งนั้นมาคุกคามความสงบสุขของตนในลักษณะที่จะสู้ (Fight) หรือจะหนี (Flight)

    ความเครียด

    ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระท าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

  • 12

    ชนิดของความเครียด R.S. Schuler (1980) 1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที

    เหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติ

    เหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด

    เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิวข้าว อันตราย

    2. Chronic stress หรือความเครียดเร้ือรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเร้ือรัง ตัวอย่างความเครียดเร้ือรัง

    ความเครียดที่ท างาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเครียดของแม่บ้าน ความเหงา

    ผลเสียต่อสุขภาพ ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรือ

    อันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่ส าหรับชีวิตประจ าวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเร้ือรังท าให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์

  • 13

    การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะท่ีเครียดมาก หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้อ่อนแรงไม่อยากจะท าอะไร

    มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล มีปัญหาเร่ืองการนอน ไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นโรคซึมเศร้า

    ให้ปฏิบัติตามค าแนะน า R.S. Schuler (1980) 1. ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมส าหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อ

    ภาวะเครียดมากจะท าให้ความสามารถในการก าหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ท าให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การก าหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะท าให้นาฬิกาชีวิตเร่ิมท างาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางคร้ังเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อส าคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา

    2. หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่ส าคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องท า

    3. ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน 4. ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การ

    เปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะท าให้เกิดความเครียด 5. หากคุณเป็นคนที่ชอบท างานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์ 6. การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะท าให้สมองสร้าง serotonin เพิ่ม

    สารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ 7. หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า 8. ให้ออกก าลังกายอย่างสม่ าเสมอ และอาจจะมีการเต้นร าด้วยก็ดี หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว

    แล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์

    http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/depression/depression.htm

  • 14

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเครียด R.S. Schuler (1980)

    1. ความเครียดเหมือนกันทุกคนหรือไม่ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละคนไม่

    เหมือนกันและการตอบสนองต่อความเครียดก็แตกต่างในแต่ละคน

    2. ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีจริงหรือไม่ ความเครียดเปรียบเหมือนสายกีตาร์ ตึงไปก็ไม่ดี หย่อน

    ไปเสียก็ไม่ไพเราะ เช่นกันเครียดมากก็มีผลต่อสุขภาพเครียดพอดีจะช่วยสร้างผลผลิต และ

    ความสุข

    3. จริงหรือไม่ที่ความเครียดมีอยู่ทุกแห่งคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ แม้ว่าจะมีความเครียด

    ทุกแห่งแต่คุณสามารถวางแผนที่จะจัดการกับงาน ล าดับความส าคัญ ความเร่งด่วนของงาน

    เพื่อลดความเครียด

    4. จริงหรือไม่ที่ไม่มีอาการคือไม่มีความเครียด ไม่จริงเนื่องจากอาจจะมีความเครียดโดยที่ไม่

    มีอาการก็ได้และความเครียดจะสะสมจนเกินอาการ

    5. ควรให้ความสนใจกับความเครียดที่มีอาการมากๆใช่หรือไม่ เมื่อเร่ิมเกิดอาการความเครียด

    แม้ไม่มากก็ต้องให้ความสนใจ เช่นอาการปวดศีรษะ ปวดท้องเพราะอาการเพียงเล็กน้อยจะ

    เตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการด าเนินชีวิตเพื่อลดความเครียด

    6. ความเครียดคือโรคจิตใช่หรือไม่ ไม่ใช่เนื่องจากโรคจิตจะมีการแตกแยกของความคิด

    บุคลิกภาพเปลี่ยนไปไม่สามารถด าเนินชีวิตเหมือนคนปกติ

    7. ขณะที่มีความเครียดคุณสามารถท างานได้อีก แต่คุณต้องจัดล าดับก่อนหลัง และ

    ความส าคัญของงาน

    8. ไม่เชื่อว่าการเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียด การเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียดนั้น

    9. ความเครียดไม่ใช่ปัญหาเพราะเพียงแค่สูบบุหร่ีความเครียดก็หายไป การสูบบุหร่ีหรือดื่ม

    สุราจะท าให้ลืมปัญหาเท่านั้นนอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาต่อ

    สุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

  • 15

    เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์

    1) เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ

    2) เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุ และไม่สามารถควบคุม

    3) เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่น การนอน การรับประทานอาหาร

    งานที่ท า ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง

    หากมีความเครียดในการท างานมีวิธีที่จะลดความเครียดในที่ท างานโดยCook W.(1997) 1. การจัดการกับความเครียด Stress Management เป็นการสอนให้รู้จักเร่ืองความเครียด ผลเสีย

    ของความเครียด เทคนิคการลดความเครียด การจัดการกับความเครียดจะท าให้ลดอาการของความเครียดและอาการนอนไม่หลับ

    1.1 การจัดการเกี่ยวกับความเครียดเป็นเพียงลดอาการของความเครียดชั่วคราวเท่านั้น

    1.2 อย่าลืมปัญหาที่เป็นรากเหง้าของความเครียดต้องได้รับการแก้ไขด้วยจึงเป็นการ

    ป้องกันที่ถาวร

    2. การเปลี่ยนแปลงองค์กร Organizational Change เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุของความเครียด

    และเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อลดความเครียด แต่ผู้บริหารมักจะไม่ชอบเนื่องจากจะกระทบต่อการ

    ท างาน ผลผลิตรวมทั้งต้นทุนของการด าเนินงาน ดังขั้นตอนต่อไปนี้

    2.1 จัดปริมาณงานให้เหมาะกับความสามารถและทรัพยากร

    2.2 จัดงานที่มีความหมาย ท้าทาย และใช้ทักษะในการท างาน รวมทั้งความก้าวหน้า

    2.3 จัดตารางความหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน

    2.4 ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับงาน

    2.5 ให้มีการสื่อสารที่ดีเพื่อลดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน

    2.6 จัดให้มีการสังสรรค์ในหมู่ผู้ท างาน

    การป้องกันความเครียดที่เกิดที่ท างาน

    การที่รอให้เกิดปัญหาหรือการร้องอาจจะสายเกินแก้เนื่องจากพนักงานอาจจะกังวลเกี่ยวกับการจ้างงานก็เป็นไปได้ ดังนั้นต้องมีวิธีที่จะป้องกันปัญหาความเครียดที่เกิดจากที่ท างานดังนี ้ Cook W. (1997)

  • 16

    1. การค้นหาปัญหาซึ่งสามารถกระท าได้โดย

    1.1 การประชุมกลุ่มท างาน เช่นกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มหัวหน้าคนงาน กลุ่มตัวแทนคนงาน ซึ่งจะท าให้ทราบปัญหา 1.2 การท าแบบสอบถาม งานที่ท าให้เกิดความเครียด อาการของความเครียด 1.3 การส ารวจการหยุดงาน ความเจ็บป่วย และการเปลี่ยนงาน 1.4 การวิเคราะห์ปัญหา

    2. การวางแผนและการแก้ไข เมื่อทราบปัญหาเราก็จะทราบแนวทางแก้ไขพร้อมทั้งแจ้งให้แกพนักงานทราบแนวทางและผลที่จะได้รับ

    3. การประเมินผล หลังจากที่ได้ปฏิบัติตามแผนแล้วก็ต้องมีการประเมินโดยท าเหมือนกับข้อแรก ธรรมชาติของความเครียด Cook W.(1997:86)

    ความเครียดเชิงสร้างสรรค์ และความเครียดเชิงท าลาย ความเครียดมีประโยชน์มาก ถ้ามนุษย์ได้ท างานอยู่ภายใต้ความเครียดที่เหมาะสม แต่ถ้า

    ความเครียดของคนอยู่สูงกว่าเส้นปกติ หรือต่ ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นผลจากการท างานที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการท างาน ซึ่งจะเรียกความเครียดทั้ง 2 ชนิดน้ีว่า

    Eustress เป็นความเครียดทางสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผลให้ คน หรือพนักงานในองค์กรมีการโต้ตอบความ เค รียดในเชิ งส ร้างสรรค์ ท า ให้ ได้ งานที่ มีคุณภาพ ความ เจ ริญก้ าวหน้ า Distress เป็นความเครียดทางท าลาย ซึ่งจะเป็นผลท าให้พนักงานเจ็บป่วย การขาด ลา ป่วยสูง และการท าร้ายชีวิตตน

    ความเครียดชั่วคราว กับความเครียดเรื้อรัง Cook W. (1997:90) ความเครียดชั่วคราว หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในระดับสูง และมีช่วงบรรเทาลดลง เช่น เกิดภาวะวิตกกังวล เมื่อร่างกายเร่ิมต่อสู้กับสิ่งที่มาท้าทาย ต่อจากนั้นก็ผ่อนคลายลง ความเครียดเร้ือรัง หมายถึง ความเครียดที่ต้องพบอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับการผ่อนคลาย เป็นเร่ืองราวของปัญหาที่ต้องพบอยู่อย่างต่อเน่ืองและยากต่อการแก้ไข เช่น ความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น การท างานที่มีก าหนดเส้นตายต่อเนื่อง สัมพันธภาพกับหัวหน้างาน และลูกน้อง เป็นต้น

  • 17

    สาเหตุการเกิดความเครียด จากการศึกษาของ Goodel และคณะ (1986:90-100) พบว่า การเกิดความเครียดมี 2 รูปแบบ 1.ความเครียดที่เกิดจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก (A stimulus-based model of stress : External Factors) รูปแบบการเกิดความเครียดในลักษณะนี้ได้น าแนวความคิดในวิชาฟิสิกส์ และวิศวกรรมมาจับต้องกับการเกิดความเครียด โดยเปรียบความเครียดได้กับแรงต้านที่มนุษย์ขับออกมาจากภายในตน เพื่อต้านกับแรงกดดันภายนอกที่มากระทบ และจากสภาวะการต้านนั้นเองก็ให้เกิดความเครียด สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตามก็มีความสามารถรับความต้านทานอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าต้องทานรับสิ่งที่หนักเกินก าลัง ก็จะเป็นอันตราย เสียหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว หรือถาวรก็ได้ สิ่งที่ก่อความเครียดในลักษณะปัจจัยภายนอกในทฤษฎีนี้ มักจะให้ความส าคัญแก่แหล่งที่เกิดความเครียดที่เกิดขึ้นในลักษณะที่สัมผัส และมองเห็นได้เช่น ลักษณะของสภาพของการท างาน ภายใต้อุณหภูมิสูง หรือต่ าเกินไป แสง เสียง หรือสภาพชุมชนที่แออัด 2.ความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนอง (A response-based model of stress: Personal Factors)รูปแบบการเกิดความเครียดในลักษณะนี้ มีเร่ืองเกี่ยวข้องเฉพาะคุณสมบัติของบุคคลใน 5 ประการดังนี้คือ 2.1Cognitive Appraisal เป็นความเครียดที่เกิดจากการใช้ความรู้สึกตนเองมาก าหนดพิจารณาว่าสิ่งที่พบเห็นเป็นความเครียด แล้วเกิดความเครียดขึ้น ดุจดังค าพูดในละครเร่ือง Hamlet ของ “Williams Shakespeare ว่า “แท้จริงสรรพสิ่งใดหาได้ดีหรือเลวร้ายไม่ หากแต่ว่าเจ้าตัวการความคิดที่เพ่งเล็งไปให้เป็นเช่นนั้น” “There is nothing good or bad, but thinking makes it so. (Hamlet: Shakespeare’s)” 2.2 Experienceประสบการณ์การสัมผัสกับความเครียดต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา จะถูกมองว่าเป็นสาเหตุแห่งความเครียดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระดับความคุ้นเคยกับเหตุการณ์นั้นมากน้อยเพียงใด ประสบการณ์ดังกล่าวหมายถึง จากประสบการณ์ตรง การสั่งสอน การเรียนรู้ให้เกิดการระวังภัย หรอืความกังวลในสิ่งนั้น ๆ คือ วัคซีนรับความเครียดได้มากน้อยของแต่ละบุคคลนั้นเอง 2.3 Demand ความปรารถนาอย่างแรงกล้า เป็นสาเหตุแห่งความเครียดอันเกิดจากการไม่ได้รับผลตามที่คาดหวัง หรือไม่มีความสามารถในการด าเนินการได้อย่างที่หวัง ความต้องการ ความปรารถนาอย่างแรงกล้า เป็นความรู้สึกกระตุ้นความเครียดให้สูงขึ้นในทันทีทันใดในขณะที่รู้สึกไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง

  • 18

    2.4 Interpersonal Influence การมีปฏิสัมพันธ์กับผุ้อ่ืนที่ก่อให้เกิดความเครียด เมื่อไม่มีการสมาคมกับใคร ความเครียดจากผู้คนก็แทบไม่มี เมื่อต้องมีคนอยู่ใกล้ชิดมาก ๆ หรือการจากหายของผู้คนไป ก็ก่อให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพที่ดีหรือไม่ดีต่อกันอยู่ระดับใด รักกันมากจากกันไปก็เครียด กังวล เสียใจ เกลียดกันจากไปก็ชอบใจ ดังนี้เป็นต้น 2.5 A state of stress การแสดงออกสภาวะการเครียด และอาการที่แสดงออกมาจากความพยายามในการจัดการต่อการเกิดความเครียดของคนนั้น มีลักษณะต่าง ๆ กัน บางคน สูบบุหรี่มวนต่อมวน เพิ่มการด่ืมสุรา พึ่งยานอนหลับ ถ้าปล่อยความเครียดให้อยู่ในระยะยาวอาจจะแสดงออกมาในลักษณะโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น

    ขนาดของความเครียด Goodel และคณะ (1986:90-100) คนจะเกิดความเครียดได้ก็เนื่องจาก มีความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตนเอง เกินกว่าก าลังความสามารถที่ตนเองจะจัดการได้ ซึ่งขนาดของความเครียดจะเกิดขึ้นได้ใน 3 ระดับ ดังนี้คือ 1) ความเครียดที่ส่งผลเฉพาะบุคคล (Individual level) เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นส่งผลในเฉพาะตัวบุคคล เนื่องจากเกิดความขัดแย้งในชีวิตของตนเอง เช่น ปัญหาการงาน ปัญหาการเรียน หรือปัญหาจากครอบครัว เป็นต้น

    2) ความเครียดที่ส่งผลเฉพาะกลุ่มน้อย (Smaller group level) เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นส่งผลในเฉพาะกลุ่มย่อย ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เช่น การย้ายบ้าน ย้ายถิ่นฐาน การถูกไล่ออกจากงานของคนใด หรือการเกษียณอายุของสมาชิกในครอบครัว 3) ความเครียดที่ส่งผลระดับคนกลุ่มใหญ่ (Many people) ความเครียดระดับบุคคลเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้Robbins (1998:78) 1.ความแตกต่างของมนุษย์ Individual differences คนบางคนก็ปล่อยความเครียดเข้าจับหัวใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่บางคนก็ปรับตัวต้อนรับความเครียดได้ดี มีปัจจัยส าคัญ 5 ประการที่ท าให้คนเรามีความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้ต่างกัน ดังนี้คือ 1.1 Perception มุมมองของคนในเร่ืองที่ก่อให้เกิดความเครียดมีสาระใหญ่น้อยไม่เท่ากัน เร่ืองที่เกิดขึ้นอาจเป็นปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ในเร่ืองเดียวกันก็อาจจะไม่เป็นปัญหาส าหรับอีกคนหนึ่ง

  • 19

    1.2 Job experience การช านิช านาญในการท างานใด ๆ จะช่วยลดความเครียดลงได้ ตัวอย่าง เช่น ผู้ท างานใหม่ขาดประสบการณ์ จะมีความกังวลในการท างาน และเมื่อมีความคุ้นเคย ความเครียดก็จะลดลง แสดงให้เห็นชัดเจนเกี่ยวกับเร่ืองนี้ โดยเสนอทฤษฎีว่าด้วย ทางเลือกของการหลบหลีก 2 กรณีคือ ประการแรก ดูจากสถิติการลาออกจากงานด้วยความตั้งใจมักมาจากผู้ที่ประสบความเครียดในการท างานมาก ในขณะเดียวกัน ผู้ที่สามารถคงปฏิบัติในองค์กรได้นาน ก็คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติในการทนทานต่อความเครียดจากการปฏิบัติงานในองค์กรนั้น ๆ ได้สูง หรือมีลักษณะที่เป็นผู้อดทนได้สูง ประการที่สอง คนเรานั้นสามารถพัฒนาตนให้ทนต่อความเครียดได้ แต่อาจจ าเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งดูได้จากผู้บริหารในระดับสูงบางคนมีความสามารถในการอดทนต่อสิ่งที่มากระทบท าให้เกิดความเครียดได้ดี และรู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดให้ตนเองได้ระดับหนึ่ง 1.3 Social support: J.J. House (1981:56) กล่าวว่า การมีสัมพันธภาพที่ดีทั้งในงานและนอกงาน เป็นเกราะป้องกัน และยาคลายเครียดได้ดี ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดอย่างยิ่งส าหรับกรณีคนที่มีลักษณะชอบการสังคม การมีเพื่อนฝูง ญาติมิตรที่เข้าใจ จะช่วยให้เขามีก าลังความต้านทานในการรับความเครียดได้ดีขึ้น 1.4 Belief in locus of control L.R. Murphy (1986:89) กล่าวว่า คนที่มีความเชื่อว่าตัวของตนเองนั้นสามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ จะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นความเครียดน้อยลง ผู้ที่คิดว่าชีวิตของตนอยู่ภายใต้การบงการและควบคุมจากผู้อ่ืน หรือปัจจัยภายนอกอ่ืน ๆ พวกหลังนี้เมื่อพบความคับข้องใจจะมีอาการในลักษณะยอมให้ถูกกระท า ยอมแพ้ จึงก่อให้เกิ ดความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 1.5 Hostility M. Friedman (1974:67) ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับคนที่มีบุคลิก Type A ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ที่จดจ่อกับเวลา ความเร่งรีบ และการแข่งขัน ต้องการให้ได้งานมากขึ้น โดยใช้เวลาในการท างานที่สั้นลง และเพื่อให้การท างานของตนส าเร็จ จะกระท าทุกอย่างโดยไม่สนใจว่าการกระท าเช่นนั้นก่อศัตรู หรือท าลาย สัมพันธภาพกับผู้คนรอบข้างอย่างสิ้นเชิง จากการศึกษาของ R. William (1989:90) พบว่า คนที่มีอุปนิสัยแบบนี้จะมีความเครียดสูง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ กลายเป็นคนที่พกอารมณ์โกรธอยู่เสมอ หวาดระแวง และไม่ไว้วางใจใคร มีความเชื่อมั่นตนเองสูง เชื่อว่าการยอมรับความคิดเห็นผู้อ่ืน และต้องเปลี่ยนแปลงตามนั้นเป็นลักษณะของคนอ่อนแอ

  • 20

    2.ปัญหาส่วนตัว ในระหว่างทศวรรษ 1960 มีนักจิตวิทยา 2 ท่านคือโทมัสโฮล์มส์ และ ริชาร์ด ราช์ ได้ท ารายการเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของคนเรา ทั้งเป็นความเครียดด้านดี ด้านร้าย มีระดับความเครียด มากน้อยไม่เท่ากัน และกล่าวว่ายิ่งมีจ านวนเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ในชีวิตที่เกิดขึ้นมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย และจิตใจได้ ความ เห็นเพิ่มเติมในเร่ืองนี้ว่า แม้คนเราจะประสบปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดต่าง ๆ นานา แต่ถ้ามีสัมพันธภาพที่ดีกับใครคนใดคนหน่ึงก็จะช่วยให้อาการเครียดเหล่านี้เบาบางลงได้ 2.1 ยอมรับเลยว่าความเครียดเป็นเหตุการณ์ ธรรมดา และเป็นธรรมชาติของชีวิตที่

    จะต้องเกิด

    2.2 เมื่อพบความเครียดยิ่งขนาดใหญ่เท่าใด ก็ย่อมบอกตัวเองว่า ต้องท าใจให้สงบมาก

    เท่านั้น

    2.3 วางแผนป้องกันการเกิดความเครียดด้วยการจัดแผนการกิน การนอน ออกก าลัง

    กาย ท ากิจกรรมกับสังคมให้เหมาะสม

    2.4 เมื่อพบความเครียดให้เพ่งเล็งหาที่มาแห่งปัญหานั้นให้พบ และเข้าใจธรรมชาติ

    ของมัน ป่วยการรักษาอาการปลายเหตุของปัญหา โดยรากเหง้าแห่งปัญหายังไม่ถูกขจัดออกไป

    2.5 ถ้าเกิดปัญหาใด ๆ จนเกิดความเครียดอย่างมาก ให้หาเพื่อนที่ไว้ใจได้ปรับทุกข์

    2.6 เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนเร่ืองดูความเครียดในแง่ดีบ้าง

    2.7 ยอมรับว่า สภาพการไร้ปัญหา ไร้กังวล เป็นสิ่งที่เราอิสระจากความเครียด ถ้าเราจะ

    บอกตัวเองให้ปลดปัญหาออกจากตัวว่า ไม่เป็นไร หรือเพียงพอ พอดีแล้ว เราคงจะเป็นสุขอีกมาก

    2.8 หวังว่าผู้อ่านจะได้รู้จักเข้าใจที่มาองความเครียด และการรู้เท่าทันใจของเราเพื่อ

    ควบคุมความเครียดให้อยู่ในระดับที่เราจะลุกขึ้นท างานอย่างมีความหวัง และความสุข และรู้ควบคุม

    ที่จะเป็นนายของมัน

  • 21

    ตัวอย่างความเครียดด้านดี ตัวอย่างความเครียดด้านร้าย มีความรัก/แต่งงาน การตายของคู่ครอง การเกษียณอายุ จ าคุก มีบุตร การเจ็บป่วยโรคภัยร้ายแรง ซื้อบ้าน ถูกไล่ออกจากงาน ได้รับแต่งต้ังต าแหน่งใหม่ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ประสบความส าเร็จอย่างไม่คาดคิด สามี/ภรรยา ถูกไล่ออกจากงาน มีเพื่อนใหม่ ปัญหากับนาย ได้หยุดพักผ่อนประจ าปี การหย่าร้าง ความเครียดท่ีเกิดภายในองค์กร เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

    1. ความเครียดที่เกิดขึ้นจากในสถานที่ท างาน Cooper & Marchall (1978:67) กล่าวว่าความเครียดที่เกิดจากในสถานที่ท างานนั้นมาจากปัจจัย 6 ประการดังนี้ 1.1 ลักษณะของงานที่ก่อให้เกิดความเครียดเอง เช่น สภาพการท างานที่มี ปริมาณมาก ใช้แรงกายมาก การตัดสินใจสูง จะเกิดอาการเบื่อหน่าย ถดถอย เมื่อท างานเกินก าลังอยู่เป็นเวลานาน ใช้เวลาการท างานมากกว่าปกติ สภาพการท างานที่มีเสียงดัง แรงสั้นสะเทือน ความร้อน กลุ่ม ควัน สกปรก 1.2 บทบาทหน้าที่ในงานที่ก่อให้เกิดความเครียดที่อาจเกิดจากการขัดแย้ง บทบาท และความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจน หรือมากเกินก าลังการก ากับดูแล หรือน้อยเกินไปกว่าที่จะได้ผลส าเร็จอย่างที่ต้องการ 1.3 สัมพันธภาพในงานกับผู้อื่น กับเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หัวหน้างานที่ไม่ดี 1.4 ความเครียดจากอาชีพ เกิดขึ้นเมื่อเห็นว่าไม่มีโอกาสการเจริญเติบโต ไม่มีการขยับขยายความไม่มั่นคงใ